เกี่ยวกับภูผาธรรม

เกี่ยวกับภูผาธรรม


luangpubunmee

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

ชาติกำเนิด

หลวงปู่บุญมี เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2469[2] ตรงกับแรม 13 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล ณ บ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.ยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็น อำเภอเมืองยโสธร)

อุปสมบท

ท่านอุปสมบท เมื่อวันปวารณาออกพรรษา ตรงกับวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2489 เวลา 13:35 น. ณ วัดสร่างโศก อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ วัดศรีธรรมาราม อ. เมือง จ. ยโสธร)[2] โดยมีพระครูพิศาลศีลคุณ (โฮม วิสาโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ปริปุณฺโณ”

ศึกษาธรรม

ในพรรษาที่ 3 (ปี พ.ศ. 2492) หลวงปู่บุญมี ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหนองโดก (วัดป่าโสตถิผล) จ.สกลนคร และได้เข้ารับการอบรมธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ จนหลวงปู่มั่นละสังขารลงในปีนั้น หลวงปู่บุญมีมีเพื่อนสหธรรมิกที่สนิทกันมาตั้งแต่ยังเด็กและได้มีโอกาสออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมร่วมกัน คือหลวงปู่เพียร วิริโย แห่งวัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อ

เผยแพร่ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สู่ผู้ปฏิบัติธรรม, ผู้ต้องการเข้าถึงธรรม, ผู้แสวงหาหนทางถึงที่สุดแห่งทุกข์  เพื่อความหลุดพ้นจากวัฏสงสาร

ชี้แนะแนวทาง เป็นกำลังใจ สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ที่ต้องต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยว อาจหาญ เพื่อมรรค – ผล – นิพพาน

สนับสนุน – อำนวยความสะดวก สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ที่มีความมุงมั่นในการทำความเพียร ทำสมาธิภาวนา

สถานปฏิบัติธรรม ภูผาธรรม มีความยินดีต้อนรับ ผู้ปฏิบัติธรรม ทุกท่านที่ต้องการหนทาง เพื่อความหลุดพ้น เรายินดียิ่งถ้าท่านจะมาเป็นเพื่อนร่วมทางกับเรา

จุดเริ่มต้นภูผาธรรม

การปฏิบัติธรรมที่วัดป่าเชิงเลนไม่ต้องมีพิธีรีตองใดๆ เพียงแค่ผู้ปฏิบัติสมาทานศีล 8 มาเองจากที่บ้าน แล้วนุ่งขาวห่มขาวมานั่งวิปัสสนาเท่านั้น พระที่วัดนี้ท่านสอนให้ไม่ยึดติดกับพิธีกรรมมากจนเกินไป ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นที่ใจเราเองทั้งนั้นเพียงแค่ตั้งใจมั่นว่าจะถือศีลก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ที่นี่ยังไม่บังคับว่าผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติธรรมในแนวทางใด หากใครศรัทธาทางสายไหนก็มาปฏิบัติในแบบนั้น เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าปฏิบัติสายไหนก็นำเราไปสู่จุดหมายเดียวกัน นั่นคือการกำจัดความทุกข์และกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจ

ดูสถานที่ก่อตั้งภูผาธรรม


ปฏิบัติธรรมที่วัดป่าเชิงเล ไม่ต้องมีพิธีรีตองใดๆ


ปฏิบัติธรรมที่วัดป่าเชิงเล ไม่ต้องมีพิธีรีตองใดๆ

ผู้อุปถัมภ์บํารุง

คุณประเสริฐ ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

การออกแบบฐานข้อมูลนั้นจะเห็นได้ว่าเป็นการกำหนดโครงสร้างของ ฐานข้อมูลเพื่อเก็บบันทึก ข้อมูลเป็นส่วนกลาง โดยมีจุดประสงค์ในการออกแบบฐานข้อมูล ดังนี้

  1. เพื่อลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่อยู่ในระบบงาน
  2. สามารถเรียกใช้โดยผู้ใช้หลายคน
  3. ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลอันเป็นผลเนื่องมาจากมีข้อมูลชุดเดียวกันอยู่หลายที่ เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูล